อะไรคือ จดทะเบียนบริษัทคนเดียว

อะไรคือ จดทะเบียนบริษัทคนเดียว และมันสามารถทำได้ไหม เพราะทุกท่านต่างสงสัย เท่าที่รู้และได้ศึกษามาจากที่ต่างๆ มีแต่ระบุว่าการจดบริษัทต้องมีตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ห้างหุ้นส่วนต้องมีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แล้วอะไรคือ จดทะเบียนบริษัทคนเดียว ตรงนี้ต้องบอกก่อนว่าประเด็นนี้ไม่ได้เป็นข่าว ซึ่งหากท่านพอได้เห็นหรือได้ดูกันมาบ้างโดยเรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ผ่านมาแล้วประมาณ 1 ปี ก็คือทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เสนอ ร่างพระราชบัญญัติบริษัทจำกัดคนเดียว (เป็นฉบับที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา) เพื่อรับฟังความคิดเห็น ซึ่งมีการรับฟังความคิดเห็นเสร็จสิ้นตั้งแต่เดือน กันยายน ปี 2563 จนมาถึงปัจจุบันเดือน ธันวาคม ปี 2564 ยังไม่ได้มีการประกาศร่างกฎหมายฉบับนี้ให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายใดๆ

สรุปก็คือ การจดทะเบียนบริษัท (คนเดียว) ในปัจจุบัน(ธ.ค 2564) นั้นก็ยังไม่สามารถทำได้ครับ แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านการอนุมัติเรียบร้อย จะมีผลทางกฎหมายทำให้จดทะเบียนบริษัท (คนเดียว) ได้ และทำให้มีขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทที่ง่ายขึ้นและลดปัญหาเรื่องความขัดแย้งกันระหว่างผู้ถือหุ้นได้อีกด้วย

ซึ่งการจดทะเบียนบริษัท (คนเดียว) นั้นจะมีความแตกต่างกับการจดทะเบียนบริษัทปกติยังไงบ้าง

ทางเราทีมงาน Forward ได้สรุปข้อมูลคร่าวๆบางเรื่องหลักๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท(คนเดียว)มาให้ทุกคนได้อ่านกันคร่าวๆ ดังนี้ครับ

1 . ชื่อบริษัท

ชื่อบริษัทแบบเต็มๆจะเป็น “บริษัท ……… จำกัด (คนเดียว)” จะมีวงเล็บคำว่าคนเดียว ต่อท้ายด้วยนะครับ ส่วนอักษรย่อจะเป็น “บจค” ยกตัวอย่าง เช่น นาย วิรุฒิ ต้องการจดทะเบียนบริษัทคนเดียว โดยตั้งชื่อบริษัทว่าบริษัทวิรุฒิ ก็จะได้เป็น “บริษัท วิรุฒิ จำกัด(คนเดียว” เป็นต้น

2 . ทุนจดทะเบียน

ในส่วนของทุนจดทะเบียนสามารถชำระได้เป็นตัวเงินหรือทรัพย์สินอื่นนอกจากตัวเงินได้ กรณีชำระเป็นตัวเงินต้องชำระเต็มจำนวนเท่านั้น กรณีเป็นทรัพย์สินอื่นนอกจากตัวเงิน จะต้องแสดงเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สิ้นนั้นด้วย และต้องโอนทรัพย์สินนั้นให้แก่บริษัทภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท

3 . คน 1 คนเป็นเจ้าของ บริษัท จำกัด (คนเดียว) ได้แค่ 1 บริษัทเท่านั้น

กฎหมายมาตรา 13 ระบุไว้ว่า “บุคคลจะเป็นเจ้าของทุนในบรัทเกินหนึ่งบริษัทในเวลาเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง”

4 . ในอนาคตสามารถเปลื่ยนสภาพเป็น บริษัท จำกัด แบบทั่วไปได้ด้วย

ในอนาคตเราสามารถแปรสภาพจาก บริษัทจำกัด (คนเดียว) นั้น เปลื่ยนมาเป็น บริษัทจำกัด ที่มีผู้ถือหุ้นสามคนได้

ซึ่งกฎหมาย มาตรา 39 ได้ระบุไว้ว่า “บริษัทอาจแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดได้โดยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน และจัดให้มีผู้จองหุ้นให้ครบเป็นองค์ประกอบในการจัดตั้งบริษัทจำกัด” หมายความว่าในอนาคตเราแค่เปลื่ยนเงินทุนของบริษัทให้เป็นหุ้น และหาคนมาซื้อหุ้นเพิ่มอีก 2 คน ก็สามารถเปลื่ยนเป็นบริษัทจำกัดแบบทั่วไปได้ครับ

5 . การทำบัญชี สอบบัญชี และ ยื่นงบการเงิน

ในส่วนของการทำบัญชี สอบบัญชี และยื่นงบการเงิน บริษัทจำกัด (คนเดียว) ก็ยังต้องปฏิบัติปกติเหมือนบริษัทจำกัดทั่วไป เว้นแต่มีข้อยกเว้นบางอย่าง ตามกฎหมาย มาตรา 29 และ 30 ในส่วนของการทำบัญชีและยื่นงบการเงิน อธิบดีอาจมีข้อยกเว้นให้ผู้ทำบัญชีของบริษัทไม่ปฏิบัติตามมาตราฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยคำนึงถึงขนาดหรือสภาพกิจการของบริษัทประกอบด้วย

แต่ถ้าใครต้องการอ่านฉบับเต็มสามารถ คลิ๊กลิ้งนี้ได้เลยครับ (Click ที่นี่เลย)

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่อยากจดทะเบียนนิติบุคคล หรือกำลังมองหาผู้ช่วยในการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น

ติดต่อสอบถาม Forward โทร. 083-983-5169

ทีมงานคุณภาพของเราจะช่วยให้คุณหายปวดหัวกับการจดทะเบียนบริษัทได้อย่างแน่นอน และมีเวลาให้คุณได้วางแผนธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น